วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2553

แผนสถิต

2. ชนิดของแผนสถิติ การแสดงการเปรียบเทียบหรือปริมาณของข้อมูลชุดหนึ่ง ๆ จะนำเสนอในรูปของแผนสถิติแบบใดก็ได้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของเนื้อหาข้อมูลกับลักษณะของแผนสถิติ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ชนิดดังนี้
2.1 แผนสถิติแบบเส้น (line or curve graph) ใช้กับข้อมูลที่แสดงความ ก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องได้ดีกว่าแบบอื่นๆการเปรียบ เทียบข้อมูลตั้งแต่ 2 ข้อมูลขึ้นไป ควรใช้แสดงเส้นต่าง ๆ ด้วยสีที่ต่างกันจะช่วยสื่อความหมายได้รวดเร็วยิ่งขึ้น เช่น การเปรียบเทียบ ค่าครองชีพแต่ละเดือน เวลาในการออกกำลังกายของคนวัยต่าง ๆ เป็นต้น


2.2 แผนสถิติแบบแท่ง (bar graph) เป็นแบบที่ใช้เปรียบเทียบข้อมูลด้วย การเทียบเคียงกันเป็นคู่ ๆ หรือเป็นชุด ทำได้ง่ายและอ่านเข้าใจได้ดีกว่าทุกแบบ จึงนิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง อาจแสดงได้ทั้งแนวตั้งหรือแนวนอน แผนสถิติแบบแท่งจะสื่อความ หมายได้ผลดี ในกรณีที่ข้อมูลเปรียบเทียบประมาณ 4 – 5 ชนิดข้อมูล
2.3 แผนสถิติแบบวงกลม (circle or pie graph) เป็นสื่อที่สร้างความเข้าใจได้ง่าย ใช้แสดงข้อมูลเปรียบเทียบอัตราส่วนของส่วนประกอบต่าง ๆ ว่าเป็นเท่าไรของปริมาณทั้งหมด แผนสถิติแบบนี้มีข้อดีที่ช่วยให้มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างส่วนย่อยกับส่วนรวมได้พร้อม ๆ กัน


2.4 แผนสถิติแบบรูปภาพ (pictorial graph) เป็นแผนสถิติที่น่าสนใจ เพราะเป็นการแปลงข้อมูลตัวเลขเป็นรูปภาพหรือสัญลักษณ์ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ แผนสถิติแบบนี้แม้จะนำเสนอข้อมูลได้อย่างน่าสนใจแต่ไม่สามารถแสดงรายละเอียดของข้อมูลได้มากนัก


2.5 แผนสถิติแบบพื้นที่ (solid graph) เป็นการใช้พื้นที่ในการแสดงปริมาณของข้อมูลที่ต้องการเปรียบเทียบให้ดูเข้าใจง่ายขึ้น แผนสถิติแบบนี้ช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว แต่ให้รายละเอียดได้น้อยกว่าทุกแบบ การสร้างแผนสถิติแบบพื้นที่ทำได้โดยการแบ่งพื้นที่ทั้งหมดออกเป็นส่วน ๆ ทุกส่วนเมื่อรวมกันแล้วจะมีค่าเท่ากับปริมาณรวมทั้งหมด เช่น การแบ่งพื้นที่ไร่นาสวนผสม การแบ่งพื้นที่ในการปลูกบ้าน เป็นต้น